Single post

ลดค่าใช้จ่ายบำบัดน้ำเสีย

การทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดแมงกานีส ในระบบ Conventional ที่ บริษัท ประปาฉะเชิงเทรา จำกัด

โรงผลิตน้ำประปาฉะเชิงเทราก็เป็นโรงผลิตน้ำประปาอีกแห่งหนึ่งที่พบกับปัญหาการปนเปื้อนของสารแมงกานีสในน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาโดยในสภาวะผลิตน้ำปกติจะพบปริมาณค่าแมงกานีสในน้ำดิบอยู่ในช่วงไม่เกิน 2.00 mg/l. (โดยจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคมของปี) และในช่วงที่ค่าแมงกานีสในน้ำดิบมีค่าสูงจะพบค่าแมงกานีสในน้ำดิบอยู่ในช่วงไม่เกิน 6.00 mg/l. (โดยจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม ของปี) ซึ่งปัจจุบันได้มีการใช้เทคโนโลยีการใช้โอโซนร่วมกับการปรับค่า pH ด้วยปูนขาวและสารตกตะกอนเพื่อลดค่าแมงกานีสในน้ำประปาให้ได้มาตรฐานคือแมงกานีส < 0.30 mg/l. (อ้างอิงเอกสารแนบที่ 1 ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำของ WHO ปี 2011)ก่อนจ่ายน้ำให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้บริการ

พบว่าจากการใช้เทคโนโลยีโอโซนร่วมกับสารเคมีเพื่อกำจัดค่าแมงกานีสนั้นมีค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำที่สูงขึ้นและในสภาวะที่ค่าแมงกานีสมีค่าสูงค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปามีค่าสูงขึ้นเป็นอย่างมากและการควบคุมค่าแมงกานีสให้ได้ตามมาตรฐานนั้นทำได้ยากซึ่งเป็นข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี

การใช้สารกรองไพโรลูไซท์เพื่อกำจัดแมงกานีสในน้ำเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงง่ายต่อการควบคุมและมีค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ต่ำจึงเป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมจึงถูกนำมาใช้ในทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพในการกำจัดแมงกานีสในน้ำประปาของในโรงผลิตน้ำประปาฉะเชิงเทรา

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.เพื่อทดลองประสิทธิภาพการลดค่าแมงกานีสในน้ำประปาของสารกรองไพโรลูไซท์โดยมีเป้าหมายการลดค่าแมงกานีสให้ได้  Mn < 0.10 mg/l.  (อ้างอิงตามเอกสารแนบที่ 2 มาตรฐานน้ำประปานครหลวงตามข้อแนะนำจาก WHO ปี 2011)

2.เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปาด้วยสารกรอง ไพโรลูไซท์และการผลิตน้ำประปาด้วยโอโซนร่วมกับสารเคมี

3.สรุปความเหมาะสมทางด้านเทคโนโลยีและหาจุดคุ้มทุนของโครงการ

 

รายละเอียดการทดลอง

ประปาฉะเชิงเทรา ไพโรลูไซต์1

1.กำหนดขอบเขตสำหรับการทดลอง

– การทดลองการกรองไพโรลูไซท์กำหนดให้ทำการทดลองที่บ่อกรองทรายที่บ่อ 4 ของโรงผลิตน้ำ 600 B โดยเปลี่ยนสารกรองทรายเดิมแทนที่ด้วยสารกรองไพโรลูไซท์จำนวน  15 ลบ.ม.โดยมีความหนาของสากรอง  100 เซนติเมตร

– น้ำที่ผ่านสารกรองจะผ่านขั้นตอนการเติมโอโซนและตกตะกอนด้วยสารส้มเพื่อกำจัดความขุ่นตกตะกอนเพื่อแยกตะกอนออกแล้ว

– ควบคุมค่า pH ของน้ำก่อนเข้าบ่อกรองอยู่ในช่วง 7.5 – 9.0 (เนื่องจากเป็นช่วงที่สารกรองไพโรลูไซท์มีประสิทธิภาพการกำจัดแมงกานีสได้สูงที่สุด)

2.การบันทึกข้อมูลและผลการทดลอง

– บันทึกข้อมูล ค่า แมงกานีส ค่า pH และค่า Turbidity ของน้ำก่อนกรอง ,น้ำที่ผ่านกรองทรายบ่อที่ 3 และ น้ำที่ผ่านสารกรองไพโรลูไซท์บ่อที่ 4 โดยทำการบันทึกผลทุกๆ 2 ชั่วโมง

3.การบันทึกข้อมูลสารเคมีที่ใช้ปรับค่า pH ให้อยู่ในช่วง 7.5 – 9.0 ,บันทึกปริมาณน้ำประปาที่ผลิตได้ เพื่อนำมาคำนวณหาค่าใช้จ่ายสารเคมีที่ใช้ปรับค่า pH

ผลการทดลอง

1.ตารางบันทึกผลการทดลอง (76 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 4 – 17 มกราคม 2560) เปรียบเทียบค่าแมงกานีสในน้ำดิบน้ำที่ผ่านบ่อกรอง 3 และน้ำที่ผ่านบ่อกรองบ่อกรอง 4

กราฟค่าแมงกานีสฉะเชิงเทรา

สรุปผลการทดลอง

ประสิทธิภาพการกำจัดแมงกานีสในน้ำประปาโดยการใช้สารกรองไพโรลูไซท์สามารถควบคุมค่าแมงกานีสในน้ำประปาได้ต่ำกว่า 0.100 มิลลิกรัมต่อลิตร (ค่าเฉลี่ยในช่วงการทดลอง 0.062 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานน้ำประปาที่ประปานครหลวงใช้ควบคุมคุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกับค่ามาตรฐานน้ำดื่มที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลกปีพ.ศ.2539 ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตน้ำประปาเทียบเท่าการประปานครหลวง

Leave a Comment